วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปการบริการยืม-คืน วันที่ 30 มิถุนายน 2554

การบริการยืม-คืน

               บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ (Circulation Service) คือการให้บริการการยืมสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุของห้องสมุดโดยผู้ใช้จะต้องทำการสมุครเป็นสมาชิกของห้องสมุด



บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ(Circulation Service)
เป้าหมายหลัก คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ

บทบาทหน้าที่ ของบริการยืม คืน
  1. การควบคุมงานบริการยืม-คืน บริการยืม-คืนนับเป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่ ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ สิทธิในการได้รับบริการอย่างเท่าเทียม และ ตอบสนองความต้องการมีสารสนเทศไว้ในมือ
  2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด งานบริการยืม-คืน เป็นจุดบริการแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นเป็นเอกลักษณ์ของห้องสมุดและเข้ามาติดต่อมากในงานห้องสมุด ความประทับใจจากความช่วยเหลือและบริการที่ได้รับจึงมีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้ ซึ่งบริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการของห้องสมุด 

สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจ
  1. ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้ 
  2. ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง หรือแจ้งเตือนการส่งช้า 
  3. ระยะเวลาในการยืมสั้น 
  4. จำกัดครั้งการยืมต่อ 
  5. ค่าปรับ 
  6. เสียงรบกวน 
  7. ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์ 
  8. ร้อนหรือเย็นเกินไป 
  9. เครื่องสำเนาเอกสาร คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ต่างๆไม่ทำงาน



ความรู้และทักษะที่ต้องการ

1. มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง
         เนื่องจากผู้ใช้บริการแต่ละคนมีอุปนิสัยไม่เหมือนกัน บางคนใจเย็น บางคนใจร้อนก็อาจจะเกิดปัญหาต่อว่าเจ้าหน้าที่ในบางครั้ง ดังนั้นความอดทน และความมีใจรักจึงมีความสำคัญต่อการทำงานอย่างยิ่ง

2. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ
          เจ้าหน้าที่จะต้องมีความรู้ในสิ่งที่ตนเองจะให้บริการ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มาขอรับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ใช้บริการจะสามารถได้ทรัพยากรที่ตรงต่อความต้องการได้มากที่สุด

3. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC
          ในยุคสมัยใหม่ บรรณารักษ์จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการให้บริการแก่ผู้ใช้ เนื่องจากความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหา และประหยัดเวลาในการให้บริการ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการให้สามารถค้นหาทรัพยากรที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วด้วย

4. มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
            เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าปัญหาต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด บรรณารักษ์จะต้องมีความพร้อมในการรับสถานการณืที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้งานลุล่วงไปได้อย่างปกติ

5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี  
          เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้มาใช้บริการ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บรรณารักษ์ และองค์กรที่บรรณารักษ์ทำงานด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น