วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปการบริการยืม-คืน วันที่ 30 มิถุนายน 2554

การบริการยืม-คืน

               บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ (Circulation Service) คือการให้บริการการยืมสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุของห้องสมุดโดยผู้ใช้จะต้องทำการสมุครเป็นสมาชิกของห้องสมุด



บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ(Circulation Service)
เป้าหมายหลัก คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ

บทบาทหน้าที่ ของบริการยืม คืน
  1. การควบคุมงานบริการยืม-คืน บริการยืม-คืนนับเป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่ ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ สิทธิในการได้รับบริการอย่างเท่าเทียม และ ตอบสนองความต้องการมีสารสนเทศไว้ในมือ
  2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด งานบริการยืม-คืน เป็นจุดบริการแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นเป็นเอกลักษณ์ของห้องสมุดและเข้ามาติดต่อมากในงานห้องสมุด ความประทับใจจากความช่วยเหลือและบริการที่ได้รับจึงมีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้ ซึ่งบริการนี้อาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการของห้องสมุด 

สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจ
  1. ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้ 
  2. ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง หรือแจ้งเตือนการส่งช้า 
  3. ระยะเวลาในการยืมสั้น 
  4. จำกัดครั้งการยืมต่อ 
  5. ค่าปรับ 
  6. เสียงรบกวน 
  7. ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์ 
  8. ร้อนหรือเย็นเกินไป 
  9. เครื่องสำเนาเอกสาร คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ต่างๆไม่ทำงาน



ความรู้และทักษะที่ต้องการ

1. มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง
         เนื่องจากผู้ใช้บริการแต่ละคนมีอุปนิสัยไม่เหมือนกัน บางคนใจเย็น บางคนใจร้อนก็อาจจะเกิดปัญหาต่อว่าเจ้าหน้าที่ในบางครั้ง ดังนั้นความอดทน และความมีใจรักจึงมีความสำคัญต่อการทำงานอย่างยิ่ง

2. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ
          เจ้าหน้าที่จะต้องมีความรู้ในสิ่งที่ตนเองจะให้บริการ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มาขอรับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ใช้บริการจะสามารถได้ทรัพยากรที่ตรงต่อความต้องการได้มากที่สุด

3. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC
          ในยุคสมัยใหม่ บรรณารักษ์จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการให้บริการแก่ผู้ใช้ เนื่องจากความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหา และประหยัดเวลาในการให้บริการ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการให้สามารถค้นหาทรัพยากรที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วด้วย

4. มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
            เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าปัญหาต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด บรรณารักษ์จะต้องมีความพร้อมในการรับสถานการณืที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้งานลุล่วงไปได้อย่างปกติ

5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี  
          เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้มาใช้บริการ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บรรณารักษ์ และองค์กรที่บรรณารักษ์ทำงานด้วย



วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปการบริการห้องสมุด // 19 มิถุนายน 2554

    งานบริการ  หมายถึง งานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ ใช้ในด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการมากที่สุด รวมถึงการจัดบรรยากาศที่ดี เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจ


ความสำคัญของบริการห้องสมุด

          งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ห้องสมุดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี  มีดังนี้
1.  เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด
     เป็นหน่วยงาน ที่ติดต่อสัมพันธ์กับผู้ใช้ห้องสมุด  สามารถสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ห้องสมุด และสร้างความนิยมชมชอบ จากผู้ใช้บริการได้
2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา
    การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่กับการจัดบริการห้องสมุด บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบงานบริการจะหาวิธีการมาใช้ เพื่อให้หนังสือ สถานที่ครุภัณฑ์ห้องสมุดได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
3.  ในด้านเศรษฐกิจ
     - ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ
     - จัดหามาให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คิดมูลค่า
4.  ในทางวัฒนธรรม
     - หน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติบ้านเมือง
     - การจัดการบริการห้องสมุดต้องให้สอดคล้องกับ วัฒนธรรม
     - บริการห้องสมุดใดที่ไม่สนับสนุนส่งเสริมประเพณี และเอกลักษณ์ของสังคมที่ห้องสมุดสังกัด
ย่อมไม่สามารถผสานเป็นองค์กรของสังคม
5.  การเมืองและการปกครอง
    บริการของห้องสมุด มีหน้าที่สำคัญ คือ การส่งเสริมระบอบการเมือง และการปกครองของบ้านเมือง
การจัดหนังสือเพื่อ บริการความรู้แก่ชนทุกระดับ ตั้งแต่ เด็กเล็กจนถึงคนชรา มีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมชาติ บ้านเมือง เพื่อให้คนทุกคนมีความรู้มีสติปัญญา มีความก้าวหน้าในอาชีพของบุคคล



ประเภทงานบริการห้องสมุด
1. บริการพื้นฐาน
    - บริการผู้อ่าน (Reader Services)
          บริการยืม-คืน (Circulation Services)
          บริการตรวจสอบและบริการจอง (Inventory and Hold Services)
    - บริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)
2. บริการอ้างอิงและสารสนเทศ  (Reference and Information Services) ลักษณะงานออกเป็น  3 กลุ่ม คือ 
    - บริการสารสนเทศ (Information services) ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ 
    - บริการสอนการใช้ (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง 
    - บริการแนะนำ (Guidance services) บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้  แต่มีข้อแตกต่าง คือ จะเน้นในการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม
2.1  บริการสารสนเทศ
       - บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service - ILL)
       - บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service - DD)
       - บริการทำสำเนา (Copies  Service)
       - บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service - CAS)
       - บริการตอบคำถาม (Replies to Inquiries Services)
       - บริการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขป  (Indexing and Abstracting Services)
       - บริการรวบรวมบรรณานุกรม (Bibliographical Services)
       - บริการการแปล (Translation Service)
       - บริการค้นสารสนเทศออนไลน์ (Online Information Retrieval Services)
       - บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service-ILL)
       - บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service-DD)
       - บริการชี้แนะแหล่งข้อมูล (Referral Service หรือ Information and Referral Service-I&R) 





2.2 บริการสอนการใช้ (Instruction Services)
      - บริการสอน/แนะนำเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
      - ให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
2.3  บริการแนะนำ (Guidance Services)
       - บริการแนะนำการอ่าน (Readers’ Advisory Services) บริการช่วยเลือกสารสนเทศที่เหมาะกับผู้ใช้ หรือแนะนำการเลือกสารสนเทศ
      - บริการการอ่านบำบัด (Bibliotherapy) การอ่านเพื่อปรับปรุงและพัฒนาจิตใจ ความคิด
      - บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน (Term-Paper Counseling)
      - บริการแนะนำและช่วยการวิจัย (Research Assistance and Consulting) 



3. บริการเฉพาะกลุ่ม
    - กลุ่มด้อยโอกาส
    - เด็ก
    - วัยรุ่น
    - ผู้สูงอายุ





วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปการบริการสารสนเทศ // 12 มิถุนายน 2554

  การบริการสารสนเทศ

          บริการสารสนเทศ หมายถึง งานบริการที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียดลึกซึ้ง ช่วยค้นหาข้อมูลหรือเรื่องราวในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้บริการหลายประเภท เช่น บริการจัดทำ ดรรชนี บริการ เลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล บริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น



ประเภทธุรกิจการบริการ
การให้บริการ แบ่งได้ 2 ประเภท  คือ
    1.การบริการเชิงธุรกิจ (Business service) 
    เป็นการมุ่งแสวงหากำไรจากการให้บริการ โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ลงทุนในการผลิตสินค้า และคาดหวังผลกำไรตอบแทนจากการลงทุน  การให้บริการของโรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ

    2. การบริการสาธารณะ (Public service) 
    เป็นการบริการโดยหน่วยงานหรือองค์กรในระบบราชการเพื่อมุ่งรักษาผลประโยชน์ และสวัสดิภาพของประชาชน เช่น การขนส่ง สุขภาพ ฯลฯ
    3.ผลของบริการเชื่อมโยงไปถึงคนและองค์กร  
งานบริการสร้างความรู้ได้ทันทีจากการใช้บริการสามารถเปลี่ยนแปลงผลจากการให้บริการได้ทั้งในแง่ดีและไม่ดี  
    4.สร้างทัศนคติต่อบุคคล  องค์กรและองค์การได้อย่างมาก
    สามารถสร้างความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ  มีต่อผู้ให้บริการหรือองค์กรได้อย่างไม่มีขีดจำกัดขึ้นอยู่กับลักษณะของการให้บริการที่มีมากน้อยเพียงใด
    5.ผิดพลาดแล้วชดเชยด้วยสิ่งอื่นก็เพียงแค่บรรเทาความไม่พอใจ  
    การบริการที่ผิดพลาดบกพร่องไม่สามารถเปลี่ยนความรู้สึกของผู้รับบริการให้กลับมาดีได้ นอกจากจะเป็นการลดความพอใจที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง


    6.สร้างภาพลักษณ์ให้องค์กรและองค์การเป็นเวลานาน  
    การบริการทั้งที่ดีและไม่ดี อยู่ที่ความทรงจำของผู้ใช้บริการอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขบริการให้ดีขึ้นมากแล้วก็ตาม เพราะภาพลักษณ์เก่ายังคงหลงเหลืออยู่ 
    7.หากเกิดการบกพร่องจะเห็นได้ชัด  
    บริการเป็นสิ่งที่ไวต่อการรับรู้  เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่สมบูรณ์หรือขาดตกบกพร่องจะเห็นได้ในทันทีทันใด  จึงต้องระมัดระวังในเรื่องบริการให้มากขึ้น
    8.บุคคลากรเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบริการที่ดี
    บริการจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ  ถ้าได้คนดีมีจิตสำนึกในการให้บริการดี  มีทัศนคติต่อการให้บริการดีและได้รับการปลูกฝังนิสัยในการให้บริการและฝึกฝนตนเองมาดี  ก็จะทำให้เกิดการบริการที่เป็นเลิศ  ฉะนั้นควรคัดเลือกบุคลากรให้ดีต่องานนั้นๆ




    9. บุคคลากรเป็นตัวแปรที่สำคัญในการสร้างและทำลายงานบริการ  
    บริการที่ผิดพลาด จะนำความเสียหายมากสู่องค์กร ส่วนใหญ่จะพบว่าเกิดจากบุคลากรในองค์กร องค์กรหลายแหล่งเคยได้รับชื่อเสียงยกย่องว่าให้บริการดี  แต่พอเปลี่ยนทีมงานที่ให้บริการ ก็พบว่าการให้บริการไม่ดีเหมือนเดิม อาจทำให้องค์กรนั้นเสียผู้รับบริการเดิมและผู้ใช้ใหม่ๆได้

งานห้องสมุด

    1.งานบริหาร (Administration function) ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และควบคุมดูแลการทำงานของห้องสมุด ให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานนั้นๆ รวมทั้งการกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสมกับห้องสมุด เพื่อให้งานของห้องสมุดบรรลุวัตถุประสงค์ เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติงาน  การจัดทำโครงการต่างๆ การประเมินผลงาน และการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
    2.งานเทคนิค (Technical function) เป็นงานที่ดำเนินการอยู่เบื้องหลัง มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 หน่วยงานหลักๆ คือ หน่วยพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เป็นบทบาทหลักของห้องสมุดในการให้บริการสารสนเทศที่มีการบันทึก และ หน่วยงานวิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่ในการจัดระเบียบสารสนเทศเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
    3.  งานบริการ (Service function) เป็นการพบปะกับผู้ใช้โดยตรง ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ประกอบด้วยงานบริการพื้นฐาน และบริการพิเศษอื่นๆ และรวมถึงงานกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ปาฐกถา เสวนา อภิปราย โต้วาที เป็นต้น 


ลักษณะของการบริการที่ดี
  1.  ผู้รับบริการต้องมาก่อนเสมอ หมายถึง คำนึงถึงผู้รับบริการก่อนสิ่งอื่นใด
  2.  ผู้รับบริการถูกเสมอไม่ว่าผู้รับบริการจะพูดจะทำอย่างไรต้องไม่โต้แย้งเพื่อยืนยันว่าผู้รับบริการผิด
  3.  ให้บริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกอบอุ่นสบายใจ
              
 การบริการที่ดี
  1.  ทำด้วยความเต็มใจ
  2.  ทำด้วยความรวดเร็ว
  3.  ทำถูกต้อง
  4.  ทำอย่างเท่าเทียมกัน
  5.  ทำให้เกิดความชื่นใจ