วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปการบริการห้องสมุด // 19 มิถุนายน 2554

    งานบริการ  หมายถึง งานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ ใช้ในด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการมากที่สุด รวมถึงการจัดบรรยากาศที่ดี เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจ


ความสำคัญของบริการห้องสมุด

          งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ห้องสมุดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี  มีดังนี้
1.  เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด
     เป็นหน่วยงาน ที่ติดต่อสัมพันธ์กับผู้ใช้ห้องสมุด  สามารถสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ห้องสมุด และสร้างความนิยมชมชอบ จากผู้ใช้บริการได้
2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา
    การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่กับการจัดบริการห้องสมุด บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบงานบริการจะหาวิธีการมาใช้ เพื่อให้หนังสือ สถานที่ครุภัณฑ์ห้องสมุดได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
3.  ในด้านเศรษฐกิจ
     - ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ
     - จัดหามาให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คิดมูลค่า
4.  ในทางวัฒนธรรม
     - หน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติบ้านเมือง
     - การจัดการบริการห้องสมุดต้องให้สอดคล้องกับ วัฒนธรรม
     - บริการห้องสมุดใดที่ไม่สนับสนุนส่งเสริมประเพณี และเอกลักษณ์ของสังคมที่ห้องสมุดสังกัด
ย่อมไม่สามารถผสานเป็นองค์กรของสังคม
5.  การเมืองและการปกครอง
    บริการของห้องสมุด มีหน้าที่สำคัญ คือ การส่งเสริมระบอบการเมือง และการปกครองของบ้านเมือง
การจัดหนังสือเพื่อ บริการความรู้แก่ชนทุกระดับ ตั้งแต่ เด็กเล็กจนถึงคนชรา มีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมชาติ บ้านเมือง เพื่อให้คนทุกคนมีความรู้มีสติปัญญา มีความก้าวหน้าในอาชีพของบุคคล



ประเภทงานบริการห้องสมุด
1. บริการพื้นฐาน
    - บริการผู้อ่าน (Reader Services)
          บริการยืม-คืน (Circulation Services)
          บริการตรวจสอบและบริการจอง (Inventory and Hold Services)
    - บริการหนังสือสำรอง (Reserve Service)
2. บริการอ้างอิงและสารสนเทศ  (Reference and Information Services) ลักษณะงานออกเป็น  3 กลุ่ม คือ 
    - บริการสารสนเทศ (Information services) ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ 
    - บริการสอนการใช้ (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง 
    - บริการแนะนำ (Guidance services) บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้  แต่มีข้อแตกต่าง คือ จะเน้นในการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม
2.1  บริการสารสนเทศ
       - บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service - ILL)
       - บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service - DD)
       - บริการทำสำเนา (Copies  Service)
       - บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service - CAS)
       - บริการตอบคำถาม (Replies to Inquiries Services)
       - บริการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขป  (Indexing and Abstracting Services)
       - บริการรวบรวมบรรณานุกรม (Bibliographical Services)
       - บริการการแปล (Translation Service)
       - บริการค้นสารสนเทศออนไลน์ (Online Information Retrieval Services)
       - บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service-ILL)
       - บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service-DD)
       - บริการชี้แนะแหล่งข้อมูล (Referral Service หรือ Information and Referral Service-I&R) 





2.2 บริการสอนการใช้ (Instruction Services)
      - บริการสอน/แนะนำเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
      - ให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
2.3  บริการแนะนำ (Guidance Services)
       - บริการแนะนำการอ่าน (Readers’ Advisory Services) บริการช่วยเลือกสารสนเทศที่เหมาะกับผู้ใช้ หรือแนะนำการเลือกสารสนเทศ
      - บริการการอ่านบำบัด (Bibliotherapy) การอ่านเพื่อปรับปรุงและพัฒนาจิตใจ ความคิด
      - บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน (Term-Paper Counseling)
      - บริการแนะนำและช่วยการวิจัย (Research Assistance and Consulting) 



3. บริการเฉพาะกลุ่ม
    - กลุ่มด้อยโอกาส
    - เด็ก
    - วัยรุ่น
    - ผู้สูงอายุ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น