วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันที่ 21 สิงหาคม 2554 สรุป เรื่อง บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน (Interlibrary lone - ILL )

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน (Interlibrary lone - ILL )
         เป็น บริการที่จะต้องมีบรรณารักษ์จากฝ่ายยืม-คืน และฝ่ายอ้างอิง เข้าร่วมในการประชุม เพราะจะมีหน้าที่โดยตรงกับการบริการนี้  ฝ่ายบริหารจะต้องคำนึงถึงการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด  เป็นบริการหลัก (Basic Service) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่มีอยู่ให้กับผู้ ใช้มากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ภายในองค์กร หรือภายนอกองค์กร
งาน ILL
1. ขอยืม ทำการขอยืมทรัพยากรสารสนเทศจากสถาบันอื่น
2. ให้ยืม  ให้สถาบันอื่นยืมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด/สถาบันเรา
ความคาดหวังของผู้ใช้
- ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้
- มีความสะดวกในการเข้าถึง  คือห้องสมุดจะต้องเป็นตัวกลางเชื่อมโยงสารสนเทศที่มีอยู่ในโลกนี้ให้ผู้ใช้ได้ใช้
- ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ  เหมาะสม ถ้าผู้ใช้อยากได้ทรัพยากรสารสนเทศแต่ในห้องสมุดนี้ไม่มี  บรรณารักษ์ต้องหามาให้บริการ
- มีความน่าเชื่อถือ  ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการต้องเชื่อถือได้
- ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้
- สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้  ผู้ใช้อยากได้สิ่งใดก็ต้องได้
ความหมาย
         บริการที่สถาบันร่วมมือกัน  ในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่นๆโดยมีข้อตกลงร่วมกัน
         - ยืมระหว่างภายใน  เช่น ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สามารถยืมระหว่างห้องสมุดแต่ละคณะได้
         - ยืมข้ามหน่วยงาน  เช่น ห้องสมุดประชาชน  ขอยืมทรัพยากรสารสนเทศจากหอสมุดแห่งชาติ
         - ยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศ  เช่น จุฬาฯเข้าร่วมเครือข่ายยืมระหว่างห้องสมุดกับOCLC  จุฬาฯก็สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศจากต่างประเทศได้  และต่างประเทศก็สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศของจุฬาฯได้เช่นกัน
ปรัชญาของบริการ ILL 
- ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถหาทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้ทั้งหมด
- ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดการ ILL
- ความต้องการของผู้ใช้เราต้องตอบสนองให้ได้มากที่สุด
ความสำคัญของ ILL
1. ขยายความสามารถในการเข้าถึง
         - ลดปัญหาการมีวัสดุสารสนเทศในห้องสมุดไม่เพียงพอ  ผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกล  สถาบันขนาดเล็กที่ขาดงบประมาณสามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดได้
         - ลดช่องว่างระหว่างสถาบัน  ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศ
2. ลดข้อจำกัดด้านระยะทาง เช่น ผู้ใช้ที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศจากอีกห้องสมุดหนึ่งได้  โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาด้วยตนเอง
3. มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า  คุ้มทุน  ซื้อมาแล้วผู้ใช้ห้องสมุดเราไม่ได้ใช้  แต่ห้องสมุดอื่นก็อาจจะมีผู้อยากใช้  อยากอ่าน
4. ช่วยประหยัดงบประมาณ  หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน  โดยการกลายเป็นการยืมแทนการซื้อ
5. ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายาก  ที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น
6. สร้างความเข้มแข็งในการจัดการ  การบริการในกลุ่มห้องสมุด  เพิ่มความก้าวหน้า  ทำให้ช่วยเหลือกันระหว่างห้องสมุดทำให้สามารถช่วยผู้ใช้ได้
7. สร้างภาพพจน์ที่ดีในการให้บริการ
องค์ประกอบในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด 
1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ  เช่น Pulinet , Thailist , Ohiolink
2. สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุด
3. ต้องมีแบบฟอร์มในการยืม
4. ต้องเป็นสมาชิก  ถึงจะยืมระหว่างห้องสมุดได้
การดำเนินงาน
ต้องมีคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงาน  ปรับปรุง  พัฒนา  มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ
1. จัดทำคู่มือ
2. กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
3. กำหนดรูปแบบรายการประสานงาน
ห้องสมุดที่ให้บริการจะเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษ  และวิธีการยืมระหว่างห้องสมุด