วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรู้ที่ได้จากการสัมมนา เรื่อง การบริการสารสนเทศรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวข้อง 24 กรกฎาคม 2554

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา วันที่ 24 กรกฎาคม 2554 เรื่องการบริการรูปแบบใหม่

เป็นการอบรมโดยการลองทำโปรแกรมต่างๆที่ใช้ในการบริการรูปแบบใหม่โดยเริ่มแรกเข้าเว็บ
ดาวน์โหลด Mercury z39.50 cliemts


ประเด็นน่าสนใจของ z39.50
1.ระบบห้องสมุดที่จัดหา/จัดวื้อ พัฒนา ไม่มีโมดูล z39.50
2.ระบบห้องสมุดที่ใช้อยู่มีดมดูล z39.50 แต่ห้องสมุดไม่ทราบ ทั้งการเปิดการใช้งาน การใช้งาน
3.ห้องสมุด/บรรณารักษ์ ไม่รู้จัก z39.50 มาก่อน
4.หนังสือส่วนมากของห้องสมุดดเป็นภาษาไทย ซึ่งระบบห้องสมุดที่เปิดข้อมูลที่เปิดโมดูล z39.50 
ของประเทศไทย มีน้อย หรือ ไม่เปิดระบบให้บริการ

z39.88 , OAI-PHM, Embeded Metadata
กับแลกเปลี่ยนรายการบรรณานุกรมจากหนังสือ/ทรัพยากร สู่ Application

การพัฒนาเว็บแยก 2 กรณี 
1.ทำมือ... สร้างหน้า .php, .html, .htm
2.พัฒนาด้วย s/w เช่น CMS - Joomal , Drupal

ตัวอย่างทำหน้าเว็บแนะนำภาควิชา 1 หน้า จะได้ไฟล์ about.html
พิมพ์เนื้อหาแนะนำภาค 4 พารากราฟ
มีรูปภาพ .jpg ประกอบ 3 ภาพ
มีลิงก์ให้ดาวน์โหลดไฟล์แนะนำภาค 2 ไฟล์
.ppt
.pdf

เว็บที่ทำต้องให้ Google Search Engine เก็บข้อมูลได้ ไฟล์ประกอบการทำเว็บมีกี่ไฟล์
1 html
3 jpg
1 ppt
1 pdf

ทุกไฟล์ต้องฝัง Metadata ที่จำเป็น
// 1 html ฝัง Web Meta Tag 
----------------เป็นการเขียน / ใส่ code เอง 
 ---- < meta name = "keywords" content = "คำค้น" />
 ----< meta name = "authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
 ----< meta name = "description" content = "คำอธิบาย" />

// 3 jpg ฝัง IPTC
// 1 ppt ฝัง Document Metadata
------powerpoint ---> start ----> prepare ---> properties ---> ลงรายการ catalog ทั้งหมด
// 1 pdf ฝัง PDF Metadata
-----Adobe Acrobat Professional ----> file ---> properties 

แล้วแต่ละชุด metadata จะลงรายกสรอย่างไร ( มาตรฐานลงรายการ )

ขยายทุกไฟล์ โดยเฉพาะ .html ให้รองรับมาตรฐาน Z39.5 ผ่าน Z39.88

< meta name = "keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "description" content = "คำอธิบาย" />
------- Web Meta Tag ให้ข้อมูลกับ Search Engine

< meta name = "DC.title" content = "คำค้น" />
< meta name = "DC.authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "DC.description" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "DC.keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "DC.cretedata" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
--------DC Meta Tag ให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Apps เช่น Reference 
            Manager ( EndNotes, Zotero, JabRef, Refwork ..)  ผ่านมาตรฐาน Z39.88
< meta name = "Citation_title" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_description" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_Keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_Createdate" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_PublishDate" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_pdf_url" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_jourjal_title" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_Volume" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_issue" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_firstpage" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_lastpage" content = "คำอธิบาย" />
-------------Citation Meta Tag เป็นชุดใหม่เพื่อให้ข้อมูลบรรณานุกรมเชิงผลงาน
วิชาการกับ Gpoogle Scholar

การเกิดของ Citation Meta Tag เพราะปัญหาจาก OAI-PHM ที่ทำได้ยาก

การเพิ่ม Webometric Ranking 
Size
Visibility
Rich Files
Scholar
ซอฟต์แวร์พัฒนา IR
eprints
Dspace
MediaTUMS
Omeka

Drupal คือ

            ดรูปาล (Drupal) เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บ (Content Management System) แบบโอเพนซอร์ส เริ่มต้นพัฒนาโดย Dries Buytaert ในภายหลังดรูปาลมีจุดเด่นในเรื่องสถาปัตยกรรมภายในที่ยืดหยุ่น ชื่อ Drupal นั้นเป็นการสะกดภาษาดัทช์คำว่า ?druppel? ด้วยภาษาอังกฤษ ความหมายของ ?druppel? นั้นแปลว่า ?drop? (หยดน้ำ) ซึ่งมีที่มาจากเว็บไซต์แรกที่ใช้ Drupal คือ drop.org 

ความง่ายการใช้งาน

Drupal มีโครงสร้างโปรแกรมที่ต่างจาก CMS อื่น ๆ ผู้จัดการบริหารระบบไม่มี User Interface แยกออกไปต่างหากดังเช่น CMS โปรแกรมอื่น ๆ แต่ User Interafce ของ Drupal จะถูกเปลี่ยนแปลงไปตามสิทธิ์ของผู้ใช้ Drupal มี ระบบบริหารและกำหนดสิทธิสมาชิกที่ดีมาก มีความยืดหยุ่นสูง แม้ว่าตอนแรกๆ อาจจะสับสนกับการใช้งานบ้าง แต่เมื่อเข้าใจระบบแล้ว จะรู้สึกว่าใช้งานได้ง่ายและสะดวกมาก นอกจากนี้ Drupal ยังมีรูปแบบการแสดงผลที่ค่อนไปทาง Blog สมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจาก CMS โปรแกรมอื่น ๆ ที่ยังคงมีรูปแบบการแสดงผลเชิงข่าวอยู่ ดังนั้นความแรงของกระแสบลอคจึงมีส่วนผลักดันความนิยมในตัว Drupal

ความรู้ที่ได้จากการสัมมนา เรื่อง การบริการสารสนเทศรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวข้อง 23 กรกฎาคม 2554

ความรู้ที่ได้จากการสัมมนา เรื่อง การบริการสารสนเทศรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวข้อง วันที่ 23/07/11
โดย อาจารย์บุญเลิศ  อรุณพิบูลย์
หัวหน้างาน งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

New services บริการสารสนเทศรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวข้อง”

Library Trend : IFLA, ALA, UNESCO

TREND I – Cloud Computing

มิติที่ 1 ที่ตั้งคือ การทำงานที่ไม่สามารถระบุที่ตั้งของการทำงานนั้นๆ ได้ อะไรก็ตามที่เราใช้ผ่านระบบ อินเตอร์เน็ท และดำเนินการผ่าน Networking ของโลก โดยไม่มีแหล่งบ่งชี้ชัดเจน มันสามารถจะวางอยู่ที่ใดของโลกก็ได้ ไม่ต้องรู้ที่ตั้ง ไม่ต้องรู้ว่า server อยู่ที่ไหน
มิติที่ 2 กลุ่มก้อน –Server กลางไม่ได้มีแค่เครื่องเดียง จุดเดียว เช่น gmailของ googleไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้ ทุกคนในโลกสามารถเข้าใช้ได้ gmailมีการตั้ง server แบบกระจาย ไม่กำหนดที่จุดใดจุดหนึ่ง ใครก็ตามที่สมัครสมาชิกก็สามารถใช้เทคนิคการตรวจสองช่องว่างของสัญญาณว่า server ไหนว่าง ช่วงเวลาที่เรา ล็อกอินข้าไประบบก็วิ่งไปที่ server นั้น แต่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า server อยู่ไหน แค่เราต่อ Internet เข้าไป ก็จะมี processในการทำงานของ gmailเอง
Cloud Computing
“คลาวด์คอมพิวติ้งก็คือแนวคิดการใช้งานทางด้านไอทีที่ ใช้วิธีดึงพลังและสมรรถนะจากคอมพิวเตอร์หลายๆตัวจากต่างสถานที่ให้มาทำงาน สอดประสานกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนการบริการทางด้านไอที ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้งมีอยู่หลายประการ เช่นช่วยให้การนำไอทีไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่า ในอดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายกับโครง สร้างพื้นฐานไอทีของตนอีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและ เลือกเสียค่าใช้จ่ายให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณ ของตนได้ เป็นต้น” (http://www.sapaan.net/forum/internet-community/aociiaocoe%28cloud-computing%29-xiidaa-aocoaeonana/)

Black April 

คือเหตุการณ์ที่ประเทศอเมริกา ที่มีเทคโนโลยีล่าสุดระบบต่างล่มโดยมิได้นัดหมายในเดือนเมษายน 2011ที่ขอเรียกได้ว่าเป็น “Black April” เดือนที่เกิดความโกลาหลในอุตสาหกรรมไอซีที ไปพอสมควรไม่เพียงแต่ในต่างประเทศ บ้านเราระบบไทยคมก็ทำเอาหน้าจอมืดไปร่วมสามชั่วโมง
ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผู้ใช้บริการบางรายสูญเสียข้อมูลบางส่วนไป เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ทาง Amazon ได้ออกมารับผิดชอบด้วยการคืนเครดิตเป็นจำนวนวันเพื่อชดเชยช่วงเวลาที่ไม่ สามารถให้บริการได้แม้จะออกมาแสดงความรับผิดชอบแล้วแต่ยังก่อให้เกิดความ เสียหายไม่เพียงกับตัวบริษัทเท่านั้นแต่ส่งผลเชิงลบต่อภาพรวมของบริการ คลาวด์ (Cloud service)

OCLC

OCLC ทำหน้าที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมและให้บริการรายการบรรณานุกรมแก่ทุกคน OCLC เป็น Bibliographic Utilities ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก
OCLC เป็น cloud ระดับองค์กร แยกประเภทได้ดังนี้
  1. แยกตามกลุ่มผู้ใช้
  • Cloud ระดับองค์กร…. cloud Library
  • Cloud ระดับบุคคล/บริการ       
Gmail, FB, Meebo, Hotmail, yahoo
  • Could ผสมผสาน                   
                Dropbox– “Dropboxเป็นบริการซิงก์และ ฝากไฟล์แบบออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ฝากอยู่ได้จากทุกๆ ที่ที่มีอินเทอร์เน็ตกล่าวคือเมื่อผู้ใช้งานได้ติดตั้งตัวโปรแกรมและจับไฟล์ ต่างๆโยนเข้าไปไว้บนโฟลเดอร์ที่ Dropboxสร้างแล้วมันก็จะถูกดึงไปไว้บนเซอร์เวอร์ของ Dropboxโดยทันทีทีนี้ผู้ใช้งานจึงสามารถเข้าถึงโฟลเดอร์นี้ได้จากเครื่อง คอมพิวเตอร์ใดๆที่ได้ติดตั้งโปรแกรม Dropboxไว้ (ในขณะนี้รองรับทั้ง Windows, Mac, Linux และแม้กระทั่ง iPhone) นอกจากนั้น ถ้าไม่สะดวกที่จะติดตั้งโปรแกรมผู้ใช้งานยังสามารถเข้าถึงไฟล์ที่ฝากไว้ผ่าน ทางเวบไซต์Dropboxได้โดยตรงอีกด้วย และที่สำคัญก็คือถ้าในขณะที่เรากำลังอัพโหลดไฟล์เข้าโฟลเดอร์ Dropboxอยู่แล้วอินเทอร์เน็ตเกิดหลุดขึ้นมา ทางโปรแกรมจะทำการ resume การอัพโหลดให้ใหม่โดยอัตโนมัติเมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกครั้ง



1. ซิงก์ไฟล์ Dropbox


2. แชร์ไฟล์ Dropbox


3. สำรองข้อมูลแบบออนไลน์ Dropbox

4. สามารถกู้ไฟล์ที่ลบทิ้งไปแล้วได้ Dropbox
   2.   แยกตามการใช้บริการ
  • Public cloud cloud ที่ให้บริการแบบสารธารณะ เช่น เฟซบุ๊ค
  •  Private cloud– cloud ส่วนตัวที่เราซื้อมาแล้วใช้เฉพาะในองค์กรเท่านั้น
  • Hybrid cloud 

   3.   แยกตามประเภทของเทคโนโลยี
  • SaaS – Software as a serviceคือไม่ต้องมีซอฟแวร์เป็น แผ่นซีดีมาติดตั้งทีละเครื่องๆ มีผู้ให้บริการที่ทำออกมาเหมือนซอฟแวร์ทั้งหมดเลย แล้วให้ผู้บริการใช้ได้ฟรีๆ เช่น www.zoho.com และ docs.google.comสร้างเอกสาร สเปรดชีต และงานนำเสนอแบบออนไลน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
  • IaaS – Infrastructure as a serviceคือ เว็บโฮสซิ่งทั้งหมด เราไม่ต้องเช่าพื้นที่ server มีคนจ่ายตั้งค่าเช่าให้เราใช้ฟรีๆ
  • PaaS – Platform as a service

Trend II – Mobile Device

ห้องสมุดจะให้บริการด้านอะไรบ้างผ่านทางโมบาย ก่อนอื่นต้องมีการทำการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ก่อนว่ามีการใช้บริการผ่านโมบาย หรือไม่อย่างไร เว็บสถิติประเทศไทย คือตัวช่วยที่ห้องสมุดสามารถไปค้นได้ว่า พฤติกรรมผู้ใช้โมบายมีแนวโน้มเป็นอย่างไร

                รู้จักผู้ใช้และพฤติกรรมจาก Truehits.net 
  

Smart phone   
                              

ที่มา :  http://www.libertymobiles.com/

 
Tablet


                           

 eReader 



                               
Netbook

Trend III – Digital content & Publishing

                eBook, IR, Digital Library, OJS
Cloud Computing และ Trend ที่ 3 นี้เกิดเพราะทุกองค์กรในโลกนี้มีเงินน้อยลง เพราะภาวะของเศรษฐกิจที่ถดถอย เงินน้อย งบประมาณน้อย ทุกองค์กรเกิดปัญหาเหมือนๆ กัน ไม่มีเงินจ้างคนเพิ่มขึ้น แต่คนที่ทำงานอยู่เดิมๆ ต้องรับผิดชอบงานที่เพิ่มมากขึ้น เช่น Server นี้ต้องใช้คนดูแล 3 คน แต่ปัจจุบันมันได้ล้าสมัยแล้ว ก็ตัดออกทั้ง Serverและคนดูแล แล้วหันมาซื้อบริการทาง Cloud Computing แทน
หลายห้องสมุดในเมืองนอก มีการยุติการซื้อวารสารออนไลน์ ซึ่งที่เกิดตามมาคือต้องมีการสร้างContentเอง แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายให้บริษัทแล้วซื้อ Online Database แต่เอาเงินตรงนี้ไปให้อาจารย์ในสถาบันนั้นๆ เขียนContentขึ้นมาให้กับห้องสมุดเอง เป็นการประหยัดงบประมาณและให้ความสำคัญกับบุคลากรขององค์กรนั้นๆ
เช่น http://ag-book.lib.ku.ac.th และ http://www.siamrarebooks.com
ถ้าสนใจจะทำ อีบุ๊ค มีการเน้น 3 ส่วนคือ
  1. การได้มาของเนื้อหา– เชิญชวนบุคลากรเข้ามาทำงานร่วมกัน
  2. กระบวนการผิต และรูปแบบ– ดูว่าจะทำอีบุ๊ครูปแบบใดบ้าง PDF, flat ,etc .โดยอาจจะสำรวจความต้องการของผู้ใช้ก่อนว่าผู้ใช้มีความต้องการแบบไหน
รูปแบบ eBook เช่น
               .doc – typing on MS word
                .pdf
                Flip eBook– maybecan or can’tshow on website
                Flash Flip eBook– can show on website
                ePublishing- ลักษณะของสิ่งพิมพ์ที่เป็นโปสเตอร์ แผ่นพับ ในลักษณะของอิเล็กทรอนิกส์
                .ePub
                Digital Multimedia Book
      3.   ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับ และการเผยแพร่
     4.    Crosswalk Metadata – คือการทำเมตาดาต้ามากกว่า1ประเภทหรือมากกว่า1รูปแบบ ทุกอย่างจะมีการผสมผสานกันหมด เราจำเป็นต้องรู้จัก เมตาดาต้ามากกว่า 1 ชุด ตัวอย่างของเมตาดาต้าเช่น
                   MARC
                   MARCML- New of library
                   Dublin core

                   ISAD (g)
                   CDWA
                   CDWA
                   RDF
                   OWL
                   MODs
                   METs   –  คล้ายๆ กับ DC
แต่ว่า element เยอะกว่า ใช้ในการทำ ดิจิทัล คอเล็กชั่น
                   PDF Metadata
                   Doc Metadata -  พวกทำงานในมหาวิทยาลัย
                   EXIF
                   XMP     งานด้านรูปถ่าย รูปภาพดิจิทัล ทำงานพวกนักข่าว
                   IPTC
                   IPTC
   5.   Open Technology
  • Z39.5 –การแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS
ILS <—–> ILS ระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด
  • Z39.88
ILS <—–> Apps ระหว่างห้องสมุดกับ other application that be new create
การเพิ่มลำดับเว็บ / จัดลำดับเว็บ Webometric
  • OAI-PMHมี1ช่องให้สืบค้น แล้วจะได้ผลลัพธ์ทุกอย่างที่ต้องการ เป็นมาตรฐานที่ อินเทรนมากที่สุดในตอนนี้ แล้วจะโชว์ full record ด้วยแนวคิดคือการทำ one search
ILS or DBs <—–> DBs, Apps
        Example:  http://tnrr.in.th/http://tnrr.in.th/beta

Linked Data keyword ที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูลจากOAI-PMH จะถูกนำมาใช้ในด้านนี้ต่อ
–> Semantic Web/Web 3.0
Web 1.0      ให้ใครคนใดคนหนึ่งดูแลเว็บ แล้วเราอ่านอย่างเดียว
Web 2.0      เรามีสิทธิ์สร้างเว็บขึ้นมาเองได้
Web 3.0      หัวใจสำคัญคือคำว่า Semantic สามารถป้อนคำค้นเป็นประโยคได้/เว็บเชิงความหมาย เช่น กูเกิ้ลรู้ว่าคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมคือ พืช สวน ไร่นา ทำเว็บไซต์ให้ค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับคำค้น โดยเอามาจาก keyword (link data)
     6.    Data & Information Mining/Visualization
              –    Data & Information Miningระบบ ฐานข้อมูลต้องไม่จบแค่ผลลัพธ์การค้น แต่มันต้องบอกอะไรมากกว่านั้น เช่นบอกว่า เจอทั้งหมดกี่เล่ม ปีไหนบ้างมีกี่เล่ม จะมีโปรแกรมช่วยนับให้เรา
-    Visualizationมีหนังสือที่เขียนโดยผู้เขียนคนนี้กี่เรื่องๆ แล้วมีเส้นเชื่อมโยงระหว่างคน 2 คนนี้ว่าเคยเขียนหนังสือเล่มเดียวกันด้วย เช่นhttp://www.boliven.com/http://vadl.cc.gatech.edu/http://labs.ideeinc.com/visual
7.   Green Libraryมาจากกระแสของ ภาวะโลกร้อน Global Warming
               …Green Building
               …Green ICT

สรุปการบริการสอนการใช้ วันที่ 17 กรกฏาคม 2554

บริการสอนการใช้(Instructional Service)


งานบริการอ้างอิงและสารสนเทศ

 1. บริการสารสนเทศ (Information services) 
 2. บริการสอนการใช้ (Instruction services)
 3. บริการแนะนำ (Guidance services) 

สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้ คือ
“หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัด     การสารสนเทศ...การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ”

ปรัชญาการบริการ
ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
(Lifelong Learning


Library Literacy

  Information Literacy

  Bibliographic Instruction (BI): Instructional programs 
designed   to teach library users Synonymous with
•library instruction
•library orientation
  
 User Instruction
                     
 วิธีการสอน
     
  Informal Instruction  อย่างไม่เป็นทางการ
  Formal Instruction   เป็นทางการ
พัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 


การเพิ่มขึ้นของสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ  ที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในสังคมอย่างกว้างขวาง
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ 
ทำให้บุคคลต้องเผชิญกับทางเลือกสารสนเทศที่หลากหลาย และมากมาย 
จึงมีความจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับประเมิน เลือก และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มทักษะใหม่ เช่น
ทักษะในการแสวงหา
การเข้าถึง สารสนเทศ  
  พัฒนาการเทคโนโลยี - เครื่องมืออ่าน 
Amazon Kindle   
                         • Kindle                  $ 299

                         • Kindle 2

                         • Kindle DX    9.7 inches
Sony Reader

Barnes and Noble - Nook
  
Skiff Reader
Apple  - iPad  iPhone 
ความสำคัญ การรู้สารสนเทศ 
 
การปฏิรูปการศึกษา
การศึกษานับเป็นปัจจัยหลักซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่มุ่งเน้นในด้าน “สังคมแห่งการเรียนรู้คน จึงเป็นทรัพยากรหลักที่ได้รับความเอาใจใส่ ให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น สังเกตได้จากการเตรียมความพร้อมด้านพื้นฐานความรู้ สถาบันการศึกษาจะมีการวางพื้นฐานตั้งแต่วัยเยาว์ ระดับชั้นอนุบาล เพื่อให้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ไก้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการศึกษาในระดับที่ สูงขึ้น โดยหลักการสอนนั้นจะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวกการคิด วิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น และที่สำคัญคือการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

ICT กับระบบการศึกษา
การ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม ที่สามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีที่กล่าวถึงจึงรวมเรียกว่า ICT – Information Computer and Telecommunication จึง มีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษาสมัยใหม่ คณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีอเมริกัน ได้ทำรายงานพิเศษเสนอต่อประธานาธิบดีในหัวข้อเรื่อง การใช้ไอทีเพื่อเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และก็มีหลายอย่างที่ตรงกับความคิดที่ทางมหาวิทยาลัย และทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการแล้ว

สมาคมห้องสมุดอเมริกัน
 
  การรู้สารสนเทศ คือ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตะหนักในสารสนเทศ ความสามารถ
แปลความหมาย ตีความ และนำสารสนเทศมาใช้ได้อย่างเหมาะสม  และได้ให้คำจำกัดความของผู้รู้
สารสนเทศ (Information Literate) ว่า คือ ผู้ที่สามารถรู้ว่าเมื่อใดสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็น  สามารถระ
แหล่งหรือค้นหาข้อมูล  สามารถประเมิน และใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
 (Campbell, 2004)

UNESCO (2008) -Information Literacy  

  •  ความสามารถของปัจเจกชนในการ
  •  ตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศของตนเอง
  •  รู้ถึงวิธีการในการสืบค้นเพื่อหาข้อมูล/สารสนเทศที่ต้องการรวมถึงต้องสามารถประเมินคุณภาพของสารสนเทศทีสามารถหามาได้
  • รู้จักวิธีการจัดเก็บและเรียกข้อมูล/สารสนเทศมาใช้เมื่อต้องการ
  •  สามารถใช้ข้อมูล/สารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลและมีจริยธรรม
  •  สามารถประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อสร้างและสื่อสารความรู้

การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
                     การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้นและต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา (Bruce, 2002) และความร่วมมือระหว่างครู อาจารย์ และบรรณารักษ์ จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และการตระเตรียมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะในด้านสารสนเทศ ดังนี้
1. มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
2. มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
3. มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
4. มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
5. มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   6.  มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร

American Library Association-ALA 
ได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศ

มาตรฐานที่ 1  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความสามารถที่จะเข้าถึงสารสนเทศได้
              อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
มาตรฐานที่ 2  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีวิจารณญาณในการ      ประเมินสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 3  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องใช้สารสนเทศอย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 4  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศและติดตามสารสนเทศที่     เกี่ยวข้องกับความสนใจของตนเอง
มาตรฐานที่ 5  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ ด้วยการนำวรรณกรรมและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ด้านอื่นๆ ด้วย 
มาตรฐานที่ 6 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ และไขว่คว้าเพื่อให้เกิดความสามารถในการค้นคืนสารสนเทศและสร้างความรู้
มาตรฐานที่ 7 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และสังคมการเรียนรู้สารสนเทศ  จะต้องยอมรับถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมระบอบประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และ สังคมการเรียนรู้สารสนเทศ จะต้องฝึกปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมที่มีมารยาท  และจรรยาบรรณเกี่ยวกับสารสนเทศ   และเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 9 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้  และสังคมการรู้สารสนเทศ  จะต้องมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่มีการติดตาม  และสร้าง  สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผล
 
มาตรฐานที่ 2  นักศึกษาผู้รู้สารสนเทศ สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล โดย
2.1 สามารถเลือกวิธีค้นคว้าหรือระบบการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการเข้าถึง
สารสนเทศ เช่น สามารถระบุวิธีการค้นคว้าที่เหมาะสม สำรวจข้อดีและข้อด้อยของวิธีการค้นคว้า
ต่างๆ และเลือกวิธีการสืบค้นสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.2 สามารถสร้างและปรับปรุงกลยุทธ์การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สามารถระบุคำ
สำคัญที่ใช้สืบค้น เลือกศัพท์ควบคุมให้เหมาะสมกับแหล่งสารสนเทศ ใช้กลยุทธ์การสืบค้นที่
เหมาะสมกับระบบการค้นคืนสารสนเทศ และสามารถปรับปรุงกลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศต่าง ๆ 
เป็นต้น
2.3 สามารถค้นคืนสารสนเทศด้วยวิธีที่หลายหลายทั้งระบบออนไลน์หรือบุคคล เพื่อให้ได้รับ
สารสนเทศที่ต้องการ เช่น บริการยืมระหว่างห้องสมุด จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ
2.4 สามารถกลั่นกรองกลยุทธ์การสืบค้นได้ถ้าจำเป็น เช่น ความสามารถประเมินปริมาณ คุณภาพ
และความเกี่ยวข้องของผลการสืบค้น และข้อด้อยของผลการค้นคืนได้
2.5 สามารถคัดเลือก บันทึกและจัดระบบสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้ เช่น สามารถใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการคัดเลือกสารสนเทศที่ต้องการ สามารถสร้างระบบจัดเก็บ
สารสนเทศ รู้จักวิธีการเขียนรายการอ้างอิงสำหรับทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ได้

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนและตัวบ่งชี้ - มาตรฐานที่ 1 

มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จาก
สารสนเทศ มี ๘ ตัวบ่งชี้
๑.๑ ผู้เรียนกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้
๑.๒ ผู้เรียนค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๓ ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสารสนเทศที่เข้าถึงได้อย่างถูกต้อง
๑.๔ ผู้เรียนสรุป เรียบเรียงแนวคิดจากสารสนเทศที่ค้นพบได้
๑.๕ ผู้เรียนจัดเก็บ/เผยแพร่สารสนเทศได้
๑.๖ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าได้
๑.๗ ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
๑.๘ ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

  ความรู้ยุคดิจิทัลประกอบด้วย ทักษะดังนี้

  Basic literacy  มีความรู้ ทักษะด้านภาษา ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด และการฟัง
  Visual literacy  มีความรู้เรื่องสื่อภาพ เสียง เพื่อความสามารถในกรสื่อสารยุคสารสนเทศ
  Media literacy  เข้าใจรูปแบบการเสนอสื่อ การวิเคราะห์
  Digital literacy  มีความรู้เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เครือข่ายและสามารถประยุกต์การใช้งาน
  Network literacy 
  Cultural literacy  มีความรู้ การเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
 
ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ

เช่น

     • 
การแนะนำห้องสมุด/นำชม (Library Orientation)
      •  การสอนการเข้าถึงข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic Instruction)
      •  การให้การศึกษาผู้ใช้ (User Education)
      •  การฝึกทักษะการเรียนรู้ (information skills training)
      •  ห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 
บรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศ หรือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการบูรณาการการ
สอนการรู้สารสนเทศในรายวิชาต่าง ๆ
 
       วิธีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ จะอยู่ในส่วนของ  บริการสอนการใช้ (Instruction Services) ซึ่ง
บริการที่ต้องการให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการค้นคว้า คือ แนะนำการใช้ห้องสมุด ทรัพยากรสารสนเทศ 
       การให้บริการนี้อาจคลุมถึง   หลักการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากร
       สารสนเทศประเภทต่างๆ  ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  การประเมิน
ทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
       ส่วนใหญ่จะมีให้บริการในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุด
ประชาชน แต่จะไม่มีบริการในห้องสมุดเฉพาะนอกจากบางแห่งที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ
ในการจัดบริการ
 

วัตถุประสงค์บริการสอนการใช้ห้องสมุด
 
1.สามารถทำให้ผู้ใช้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ
2.สามารถนำความต้องการของสารสนเทศไปสร้างคำถาม คำหลัก และพัฒนากลยุทธ์การสืบค้นได้
3.ผู้ใช้สามารถเลือก และสามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการได้รวมถึงมี
ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ
4.ผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศมาพัฒนาองค์ความรู้เดิมและประยุกต์ใช้กับงานในสถานการณ์ต่างๆได้
 
ลักษณะการจัดบริการ

จัดบริการ 2 ลักษณะ คือ
1.บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
  Informal /Point of use Instruction
2.    บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
  Formal Instruction 
Library Tour/Orientation
Classroom Presentation