วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปการบริการสอนการใช้ วันที่ 17 กรกฏาคม 2554

บริการสอนการใช้(Instructional Service)


งานบริการอ้างอิงและสารสนเทศ

 1. บริการสารสนเทศ (Information services) 
 2. บริการสอนการใช้ (Instruction services)
 3. บริการแนะนำ (Guidance services) 

สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้ คือ
“หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัด     การสารสนเทศ...การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ”

ปรัชญาการบริการ
ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
(Lifelong Learning


Library Literacy

  Information Literacy

  Bibliographic Instruction (BI): Instructional programs 
designed   to teach library users Synonymous with
•library instruction
•library orientation
  
 User Instruction
                     
 วิธีการสอน
     
  Informal Instruction  อย่างไม่เป็นทางการ
  Formal Instruction   เป็นทางการ
พัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 


การเพิ่มขึ้นของสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ  ที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในสังคมอย่างกว้างขวาง
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ 
ทำให้บุคคลต้องเผชิญกับทางเลือกสารสนเทศที่หลากหลาย และมากมาย 
จึงมีความจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับประเมิน เลือก และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มทักษะใหม่ เช่น
ทักษะในการแสวงหา
การเข้าถึง สารสนเทศ  
  พัฒนาการเทคโนโลยี - เครื่องมืออ่าน 
Amazon Kindle   
                         • Kindle                  $ 299

                         • Kindle 2

                         • Kindle DX    9.7 inches
Sony Reader

Barnes and Noble - Nook
  
Skiff Reader
Apple  - iPad  iPhone 
ความสำคัญ การรู้สารสนเทศ 
 
การปฏิรูปการศึกษา
การศึกษานับเป็นปัจจัยหลักซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่มุ่งเน้นในด้าน “สังคมแห่งการเรียนรู้คน จึงเป็นทรัพยากรหลักที่ได้รับความเอาใจใส่ ให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น สังเกตได้จากการเตรียมความพร้อมด้านพื้นฐานความรู้ สถาบันการศึกษาจะมีการวางพื้นฐานตั้งแต่วัยเยาว์ ระดับชั้นอนุบาล เพื่อให้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ไก้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการศึกษาในระดับที่ สูงขึ้น โดยหลักการสอนนั้นจะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวกการคิด วิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น และที่สำคัญคือการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

ICT กับระบบการศึกษา
การ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม ที่สามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีที่กล่าวถึงจึงรวมเรียกว่า ICT – Information Computer and Telecommunication จึง มีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษาสมัยใหม่ คณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีอเมริกัน ได้ทำรายงานพิเศษเสนอต่อประธานาธิบดีในหัวข้อเรื่อง การใช้ไอทีเพื่อเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และก็มีหลายอย่างที่ตรงกับความคิดที่ทางมหาวิทยาลัย และทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการแล้ว

สมาคมห้องสมุดอเมริกัน
 
  การรู้สารสนเทศ คือ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตะหนักในสารสนเทศ ความสามารถ
แปลความหมาย ตีความ และนำสารสนเทศมาใช้ได้อย่างเหมาะสม  และได้ให้คำจำกัดความของผู้รู้
สารสนเทศ (Information Literate) ว่า คือ ผู้ที่สามารถรู้ว่าเมื่อใดสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็น  สามารถระ
แหล่งหรือค้นหาข้อมูล  สามารถประเมิน และใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
 (Campbell, 2004)

UNESCO (2008) -Information Literacy  

  •  ความสามารถของปัจเจกชนในการ
  •  ตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศของตนเอง
  •  รู้ถึงวิธีการในการสืบค้นเพื่อหาข้อมูล/สารสนเทศที่ต้องการรวมถึงต้องสามารถประเมินคุณภาพของสารสนเทศทีสามารถหามาได้
  • รู้จักวิธีการจัดเก็บและเรียกข้อมูล/สารสนเทศมาใช้เมื่อต้องการ
  •  สามารถใช้ข้อมูล/สารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลและมีจริยธรรม
  •  สามารถประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อสร้างและสื่อสารความรู้

การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
                     การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้นและต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา (Bruce, 2002) และความร่วมมือระหว่างครู อาจารย์ และบรรณารักษ์ จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และการตระเตรียมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะในด้านสารสนเทศ ดังนี้
1. มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
2. มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
3. มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
4. มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
5. มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   6.  มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร

American Library Association-ALA 
ได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศ

มาตรฐานที่ 1  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความสามารถที่จะเข้าถึงสารสนเทศได้
              อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
มาตรฐานที่ 2  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีวิจารณญาณในการ      ประเมินสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 3  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องใช้สารสนเทศอย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 4  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศและติดตามสารสนเทศที่     เกี่ยวข้องกับความสนใจของตนเอง
มาตรฐานที่ 5  นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ ด้วยการนำวรรณกรรมและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ด้านอื่นๆ ด้วย 
มาตรฐานที่ 6 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ และไขว่คว้าเพื่อให้เกิดความสามารถในการค้นคืนสารสนเทศและสร้างความรู้
มาตรฐานที่ 7 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และสังคมการเรียนรู้สารสนเทศ  จะต้องยอมรับถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมระบอบประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และ สังคมการเรียนรู้สารสนเทศ จะต้องฝึกปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมที่มีมารยาท  และจรรยาบรรณเกี่ยวกับสารสนเทศ   และเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 9 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้  และสังคมการรู้สารสนเทศ  จะต้องมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่มีการติดตาม  และสร้าง  สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผล
 
มาตรฐานที่ 2  นักศึกษาผู้รู้สารสนเทศ สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล โดย
2.1 สามารถเลือกวิธีค้นคว้าหรือระบบการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการเข้าถึง
สารสนเทศ เช่น สามารถระบุวิธีการค้นคว้าที่เหมาะสม สำรวจข้อดีและข้อด้อยของวิธีการค้นคว้า
ต่างๆ และเลือกวิธีการสืบค้นสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.2 สามารถสร้างและปรับปรุงกลยุทธ์การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สามารถระบุคำ
สำคัญที่ใช้สืบค้น เลือกศัพท์ควบคุมให้เหมาะสมกับแหล่งสารสนเทศ ใช้กลยุทธ์การสืบค้นที่
เหมาะสมกับระบบการค้นคืนสารสนเทศ และสามารถปรับปรุงกลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศต่าง ๆ 
เป็นต้น
2.3 สามารถค้นคืนสารสนเทศด้วยวิธีที่หลายหลายทั้งระบบออนไลน์หรือบุคคล เพื่อให้ได้รับ
สารสนเทศที่ต้องการ เช่น บริการยืมระหว่างห้องสมุด จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ
2.4 สามารถกลั่นกรองกลยุทธ์การสืบค้นได้ถ้าจำเป็น เช่น ความสามารถประเมินปริมาณ คุณภาพ
และความเกี่ยวข้องของผลการสืบค้น และข้อด้อยของผลการค้นคืนได้
2.5 สามารถคัดเลือก บันทึกและจัดระบบสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้ เช่น สามารถใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการคัดเลือกสารสนเทศที่ต้องการ สามารถสร้างระบบจัดเก็บ
สารสนเทศ รู้จักวิธีการเขียนรายการอ้างอิงสำหรับทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ได้

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนและตัวบ่งชี้ - มาตรฐานที่ 1 

มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จาก
สารสนเทศ มี ๘ ตัวบ่งชี้
๑.๑ ผู้เรียนกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้
๑.๒ ผู้เรียนค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๓ ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสารสนเทศที่เข้าถึงได้อย่างถูกต้อง
๑.๔ ผู้เรียนสรุป เรียบเรียงแนวคิดจากสารสนเทศที่ค้นพบได้
๑.๕ ผู้เรียนจัดเก็บ/เผยแพร่สารสนเทศได้
๑.๖ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าได้
๑.๗ ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
๑.๘ ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

  ความรู้ยุคดิจิทัลประกอบด้วย ทักษะดังนี้

  Basic literacy  มีความรู้ ทักษะด้านภาษา ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด และการฟัง
  Visual literacy  มีความรู้เรื่องสื่อภาพ เสียง เพื่อความสามารถในกรสื่อสารยุคสารสนเทศ
  Media literacy  เข้าใจรูปแบบการเสนอสื่อ การวิเคราะห์
  Digital literacy  มีความรู้เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เครือข่ายและสามารถประยุกต์การใช้งาน
  Network literacy 
  Cultural literacy  มีความรู้ การเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
 
ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ

เช่น

     • 
การแนะนำห้องสมุด/นำชม (Library Orientation)
      •  การสอนการเข้าถึงข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic Instruction)
      •  การให้การศึกษาผู้ใช้ (User Education)
      •  การฝึกทักษะการเรียนรู้ (information skills training)
      •  ห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 
บรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศ หรือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการบูรณาการการ
สอนการรู้สารสนเทศในรายวิชาต่าง ๆ
 
       วิธีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ จะอยู่ในส่วนของ  บริการสอนการใช้ (Instruction Services) ซึ่ง
บริการที่ต้องการให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการค้นคว้า คือ แนะนำการใช้ห้องสมุด ทรัพยากรสารสนเทศ 
       การให้บริการนี้อาจคลุมถึง   หลักการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากร
       สารสนเทศประเภทต่างๆ  ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  การประเมิน
ทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
       ส่วนใหญ่จะมีให้บริการในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุด
ประชาชน แต่จะไม่มีบริการในห้องสมุดเฉพาะนอกจากบางแห่งที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ
ในการจัดบริการ
 

วัตถุประสงค์บริการสอนการใช้ห้องสมุด
 
1.สามารถทำให้ผู้ใช้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ
2.สามารถนำความต้องการของสารสนเทศไปสร้างคำถาม คำหลัก และพัฒนากลยุทธ์การสืบค้นได้
3.ผู้ใช้สามารถเลือก และสามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการได้รวมถึงมี
ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ
4.ผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศมาพัฒนาองค์ความรู้เดิมและประยุกต์ใช้กับงานในสถานการณ์ต่างๆได้
 
ลักษณะการจัดบริการ

จัดบริการ 2 ลักษณะ คือ
1.บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
  Informal /Point of use Instruction
2.    บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
  Formal Instruction 
Library Tour/Orientation
Classroom Presentation
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น